ความรู้

จริง หรือ ปลอม ตอนที่ 1

คุณลองจินตนาการดูซิว่าถ้ามีกล่องสมบัติใบใหญ่มาวางอยู่ตรงหน้าของคุณแล้วภายในกล่องเต็มไปด้วยเครื่องประดับทองและแพลทินัม คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องประดับเหล่านั้นเป็นของจริงหรือของปลอม วันนี้เรามีวิธีทดสอบเครื่องประดับเหล่านั้นว่าเป็นของจริงหรือของปลอม โดยการทดสอบมีอยู่ 2 วิธีการด้วยกันคือ การทดสอบแบบไม่ใช้กรดและการทดสอบแบบใช้กรด

ถ้าคุณลองเอาแม่เหล็กไปวางไว้ใกล้ๆ กับเครื่องประดับทองและแพลทินัมแล้วสังเกตแรงดึงดูดที่เกิดขึ้น หากเป็นเครื่องประดับทองหรือแพลทินัม จะไม่เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็กแต่ถ้าเป็นเหล็กและสแตนเลตส รวมทั้งโคบอล และแพลทินัมจะเกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก การทดสอบด้วยแม่เหล็กนี้เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลอย่างรวดเร็วเหมาะกับการทดสอบเครื่องประดับที่เป็นงานชุบ ข้อควรระวังวิธีการนี้ใช้ทดสอบงานชุบที่มีการใช้เงินและทองแดงเป็นตัวชุบไม่ได้เพราะไม่เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็กเหมือนทองและแพลทินัม

แม่เหล็กที่ใช้ในการทดสอบสามารถหาได้โดยทั่วไปเช่น จากลำโพง ตุ๊กตา ของเล่นต่าง ซึ่งให้แรงดึงดูดที่มากพอสมควร

การทดสอบวิธีนี้ใช้การชั่งเครื่องประดับด้วยมือหากเครื่องประดับมีน้ำหนักเบาหรือผิดปกติไปให้สันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่ทองหรือแพลทินัม การทดสอบทำได้โดยวางเครื่องประดับที่สงสัยในมือข้างหนึ่งแล้วมืออีกข้างหนึ่งวางเครื่องประดับที่เป็นของจริงไว้ทำการชั่งเปรียบเทียบกัน ถ้าน้ำหนักแตกต่างกันก็แสดงอาจเป็นของปลอมหรือเป็นการชุบตีโป่งมาหลอกได้

การทดสอบอีกวิธีหนึ่งคืออาศัยค่าความถ่วงจำเพาะของเครื่องประดับทองและแพลทินัม (ข้อมูลจาก The Retail Jeweller's Guide, p.398, by Kenneth Blakemore) ใช้เครื่องชั่งความถ่วงจำเพาะในการทดสอบ

เป็นตราประทับที่บอกความบริสุทธิ์ของทองและแพลทินัมที่มีอยู่ในเครื่องประดับนั้น ซึ่งตราประทับนั้นสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ หากคุณสังเกตเห็นว่าไม่มีตราประทับเหล่านี้แล้วเครื่องประดับนั้นอาจไม่ใช่ของจริงก็ได้ ข้อควรระวังในการสังเกตตราประทับระหว่าง 18K และ 10K หากมีการประทับไม่ดีอาจทำให้เกิดการสับสนได้เพราะรูปร่างของตัวเลขใกล้เคียงกัน

การประทับตรากะรัตและความบริสุทธิ์บนเครื่องประดับประเภทสร้อย ส่วนใหญ่จะประทับไว้บริเวณบนตะขอเกี่ยว สลัก หรือข้อต่อ ถ้าเป็นพวกต่างหูจำเป็นต้องใช้แว่นขยายในการสังเกต ห่างเป็นแหวนหรือกำไลจะประทับไว้บริเวณใต้ท้องของแหวนและกำไลต่างๆ

การมีตราประทับกะรัตหรือความบริสุทธิ์บนเครื่องประดับไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าเครื่องประดับเหล่านั้นเป็นของจริงเพราะอาจมีการเลียนแบบได้แต่เครื่องประดับที่เป็นทองและแพลทินัมจำเป็นต้องมีตราประทับกะรัตและความบริสุทธิ์ทุกชิ้น เพื่อง่ายต่อผู้บริโภคในการสังเกต

ตราประทับผู้ผลิตก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับตราประทับกะรัตและความบริสุทธิ์เพราะจะเป็นตัวบอกผู้ผลิตซึ่งตราประทับนี้อาจทำให้ราคาของเครื่องประดับแตกต่างกันออกไป เช่น Italy 18K เป็นทองคำของอิตาลีก็จะทำให้ราคาของเครื่องประดับนั้นแพงขึ้นไปอีก แต่ปัจจุบันมีการเลียนแบบกันมาก ดังนั้นควรสังเกตให้ดี

การทดสอบสีของเครื่องประดับควรสังเกตความสม่ำเสมอของสีของเครื่องประดับ สีที่สังเกตได้ไม่ควรจะมีสีที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นบริเวณข้อต่อ สลัก ขอเกี่ยว และตัวเรือน หากต้องการทดสอบเพื่อความแน่ใจให้ทำการตะไบเบาๆ ในตำแหน่งที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้แล้วลองเปรียบเทียบสีดูได้

การทดสอบสีทำให้เราสามารถจำแนกเครื่องประดับเหล่านั้นได้ว่าเป็นเครื่องประดับอะไรเช่น ทองคำสีขาวกับแพลทินัม เพราะทองคำสีขาวจะมีสีเหลืองบางๆ จากการชุบโรเดียม ส่วนสีของเงินจะมีคราบหมองแต่แพลทินัมจะไม่มี

สีที่แตกต่างกันก็เป็นตัวบ่งบอกถึงส่วนประกอบของโลหะอื่นๆ เครื่องประดับทองกะรัตแต่ละช่วงกะรัตของทองก็จะมีสีที่แตกต่างกันออกไปตามส่วนประกอบเช่น มีส่วนผสมของทองแดงมากสีของเครื่องประดับที่ได้จะมีสีที่เข้มกว่าเครื่องประดับที่มีทองแดงผสมอยู่น้อยกว่า

ถ้าเครื่องประดับที่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วยให้สังเกตข้างหลังของตัวอัญมณี โดยใช้ลูปกำลังขยาย 10 เท่า ซึ่งจะมีตราประทับบอกค่ากะรัตและความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับไว้บนตัวเรือน การสังเกตวิธีนี้ใช้ได้กับอัญมณีที่มีความโปร่งใส่เท่านั้นหากเครื่องประดับที่มีอัญมณีที่ไม่สามารถมองผ่านได้หากจำเป็นต้องทดสอบให้ทำการแกะเอาอัญมณีออกก่อนทำการทดสอบ

ถ้าเป็นเครื่องประดับที่มีการลดราคาให้สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องประดับที่มี่ความบริสทธิ์ของทองและแพลทินัมที่ต่ำหรือเครื่องประดับปลอมและอาจเป็นเครื่องประดับที่เป็นงานชุบ เพราะหากเป็นเครื่องประดับทองและแพลทินัมที่เป็นของจริงจะมีราคาที่คงที่ไม่สามารถนำมาลดราคาได้เนื่องจากส่งผลถึงผลกำไรในการจำหน่ายดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการลดราคาเครื่องประดับทองและแพลทินัมเหล่านั้น

วิธีการนี้ Jurgen Maerz เป็นผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการพิสูจน์ว่าเป็นโลหะแพลทินัมจริงหรือไม่ โดยการแกะเอาเศษโลหะของเครื่องประดับในตำแหน่งที่ไม่สามารมองเห็นได้มาวางบนแผ่นเซรามิกทนความร้อนแล้วทำการหลอมด้วยความร้อนจากหัวแก๊สที่ให้อุณหภูมิ 1,200 oc หากชิ้นโลหะทดสอบเกิดการหลอมเป็นเม็ดโลหะกลมๆ คล้ายลูกบอลแสดงว่าเครื่องประดับชิ้นนั้นไม่ใช่แพลทินัมเพราะหากเป็นโลหะแพลทินัมจะไม่เกิดการหลอมเหลวแต่จะเป็นสีแดงจากความร้อนและคงสภาพเดิมอยู่ อุณหภูมิที่จะทำให้แพลทินัมหลอมเหลวได้ต้องมีอุณหภูมิประมาณตั้งแต่ 1,700 oc ขึ้นไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *